วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทเรียนหนึ่งของการเป็นกระบวนการ: วิศิษฐ์ วังวิญญ


บทเรียนหนึ่งของการเป็นกระบวนกรจุดสุดยอดของการเป็นกระบวนกรอยู่ที่การตั้งคำถาม?
โดย วิศิษฐ์ วังวิญญูหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 17 กันยายน 2548คืน วันหนึ่งหลังเลิกงานแล้ว พักผ่อนแล้ว ทานอาหารเย็นแล้ว กระบวนกรในเชียงรายได้มารวมตัวคุยกัน ณ บ้านเปี่ยมรัก เรื่องการจัดกระบวนการ "เขียนโลกใบใหม่" สี่วันสามคืนให้กับองค์กรธุรกิจแห่งหนึ่ง เป็นการนั่งล้อมวงเพื่อทบทวนบทเรียนอาจารย์ฌานเดช พ่วงจีน กล่าวถึงประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งเอาไว้ในการก้าวเข้าสู่จุดสุดยอดของการเป็น กระบวนกร อาจารย์เฝ้าดูการโยนประเด็น โยนคำถามที่พลิกสถานการณ์ คำถามที่จะเป็นชนวนที่ทำให้การเรียนรู้แตกประเด็น ระเบิดออก ปะทุและเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ดังเช่นระเบิดนิวเคลียร์ อะไรคือชั่วขณะดังกล่าว เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าอะไรคือประเด็น ช่วงเวลาไหนคือช่วงเวลาที่เหมาะสม อาจารย์คิดว่า ถ้าอาจารย์เข้าถึงสัมผัสอันพิเศษยิ่งนี้ อาจารย์จะเข้าถึงจุดสุดยอดของการเป็นกระบวนกรคำถามในกระบวนการเรียนรู้อย่างที่เราทำกัน เราจะให้ความสำคัญกับ “คำถาม” ไม่แพ้ “คำตอบ” หรือบางทีอาจจะมากกว่าคำ ตอบหนึ่งเดียว หรือคำตอบที่ตายตัวคงไม่ใช่วิถีแห่งการเรียนรู้ในวิทยาศาสตร์ใหม่ คำตอบที่ดีที่สุดคำตอบเดียวไม่มีอยู่ หากมีแต่คำตอบที่ใช้การได้หลายๆ คำตอบ และความหลากหลายนั้นจะช่วยบ่มเพาะให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นอีกไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือชีวิต นี่คือรูปแบบ กระบวนการและโครงสร้างของชีวิตที่สร้างใหม่อยู่ตลอดเวลาคำถามกับปัญหาปัญหา ไม่ได้เป็นอะไรที่เป็นกลางๆ ที่เราจะเข้าไปดู เข้าไปแก้ไขกับมันได้อย่างสบายใจกระมัง แต่มันมักเป็นหลุมดำดึงดูดความรู้สึกด้านลบของผู้คน และบางทีแทนที่จะแก้ปัญหา เรากลับเข้าไปทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้นไปอีก คือการแก้ปัญหากลับกลายเป็นการเพิ่มปัญหาอีกด้านหนึ่ง ปัญหาได้เข้ามาครอบงำทัศนะมุมมองของเรา และบางทีเราก็อาจจะติดข้องอยู่ในนั้น ไม่สามารถถอยหลังออกมาเพื่อจะมองเห็นภาพกว้างได้ พลังงานของเราและความคิดของเรากลับไปติดแหงกอยู่ตรงนั้น จมปลักอยู่กับปัญหานั้นๆ เองเราจะมีทางปลดปล่อยตัวเองออกมาจากการครอบงำนั้นได้หรือไม่? อย่างไร?คำถามกับการสืบค้นด้านบวกแทน ที่จะจมปลักอยู่กับปัญหา เราลองมาปรับเปลี่ยนมุมมอง ด้วยการปรับเปลี่ยนคำถาม แทนที่จะถามถึงการแก้ปัญหา เรามาถามถึงสิ่งที่เราปรารถนา หรือสิ่งที่เราใฝ่ฝันแทน เราจะทำอย่างไร จึงจะไปถึงฝันของเราได้ แทนที่จะถามว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหา เรากลับถามว่าทำอย่างไรจึงจะไปถึงฝัน? พลังของคำถามมันต่างกันไหม? ความอยากจะตอบมันต่างกันไหม?คำถามกับแรงบันดาลใจ ทำ อย่างไร? เราจึงจะปลุกเร้าแรงบันดาลใจของผู้คนขึ้นมาได้ ในองค์กรที่ปฏิบัติกับผู้คนดุจดั่งเป็นเครื่องจักร มนุษย์กลายมาเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักร ที่เบื้อใบ้ ไร้คุณค่า ไม่มีบทบาทในความคิดริเริ่มใดๆ ไม่สามารถมีความคิดเห็นดัดแปลงสภาพแวดล้อมและการงานของตัวเองได้เรา ต้องใช้เวลาเยียวยาผู้คนเหล่านี้ เปิดเวทีให้เสียงของพวกเขาได้ปรากฏ ให้พวกเขาได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของงาน คิดค้น ออกแบบ เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม กระบวนการในการทำงานของตัวเองได้ และรู้สึกปลอดภัยที่จะทำเช่นนั้น โดยได้รับการเสริมย้ำในทางปฏิบัติว่าปลอดภัยจริง และสิ่งที่พวกเขาคิดริเริ่มมีผลในทางปฏิบัติจริง เมื่อนั้น พวกเขาจะได้กลับมามีแรงบันดาลใจอีกครั้ง อันเป็นสิ่งที่มีอยู่เดิมในความเป็นมนุษย์ของพวกเขาตั้งแต่เกิดมาคำถามกับปัญญาร่วมปัญญา ร่วมหรือ คอลเลคทีฟ อินเทลลิเจนซ์ (collective intelligence) หรือ คอลเลคทีฟ วิสดอม (collective wisdom) นั้นไม่ใช่ปัญญาอันเกิดจากการคิดด้วยเหตุและผล ปัญญาอันเกิดจากการคิดด้วยเหตุและผลก็เป็นของดี แต่มันมีข้อจำกัด มันตอบได้ดีเฉพาะปัญหาที่ลงตัว ที่ยังอยู่ในกรอบของคณิตศาสตร์ที่เป็นสมการเชิงเส้นในธรรมชาติของ ความเป็นจริงอันสลับซับซ้อน เราต้องการปัญญาที่เหนือชั้นกว่าปัญญาที่ว่าด้วยเหตุและผล เหนือกว่า อินเทลเลค (intellect) หรือพุทธิปัญญา แต่ต้องมาจากการภาวนา หรือการเฝ้าดูอย่างเนิ่นนาน เป็นปัญญาระดับญาณทัศนะ ที่เราไม่ได้คิดในจิตสำนึก หากบ่มอยู่ในจิตไร้สำนึกและโผล่ปรากฏขึ้นมาแบบปิ๊งแว้บปัญญาภาวนา ที่กล่าวถึงนี้ ทำงานอยู่เหนือระดับเหตุผลออกไป เมื่อได้มา มันจะมีความสมเหตุสมผลอยู่ในที่นั้นเอง หากแต่ว่า มันจะเป็นคำตอบที่เหนือชั้นกว่า คือจะมีความพอดิบพอดีลงตัวได้อย่างประหลาด! เราจึงเรียกมันว่า “ญาณทัศนะ” หรือ “ปิ๊งแว้บ”เกาะติดนัวเนียก่อนตั้งคำถามในวิทยา ศาสตร์เก่า การสังเกตเรื่องราว ผู้สังเกตตั้งระยะห่างจากสิ่งสังเกต ผู้สังเกตกับสิ่งที่ถูกสังเกตแยกขาดออกจากกัน วิทยาศาสตร์เก่าเอาอารมณ์ไปผูกพันไม่ได้ อารมณ์ถูกตีตราว่าเป็นสิ่งไม่ดี เหตุผลดี อารมณ์ไม่ดีวิทยาศาสตร์ใหม่ เรารู้ว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้ และอารมณ์ก็คือปัญญา ไม่ใช่อุปสรรค แต่หากเรารู้ว่าในความเป็นปกติ อารมณ์คือปัญญา ในยามปกป้อง อารมณ์คืออุปสรรค เราก็จะเรียนรู้ปัญญาอารมณ์คือการรักษาความเป็นปกติในชีวิต ในวิทยาศาสตร์เก่าผู้คนยังไม่ได้เรียนรู้ความข้อนี้ จึงมีปัญหาได้มาก แต่ไม่รู้ตัวเราจะเรียนรู้การเกาะติดนัวเนียจาก ไท ชี ฉวน หรือวิชากำลังภายในที่ว่าด้วยธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้มาก คือ เมื่อเกาะติดนัวเนีย เราจึงอ่านแรงคู่ปฏิปักษ์ได้ เมื่ออ่านแรงได้ก็ควบคุมกำกับทิศทางแรงของปฏิปักษ์ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ปฏิปักษ์ก็ไม่สามารถทำร้ายเราได้เลย เราจึงสามารถสลายความเป็นปฏิปักษ์ด้วยประการฉะนี้ในการเป็นกระบวนกร เราต้องพร้อมจะเริ่มต้นใหม่เสมอ เริ่มต้นใหม่อย่างไม่ตัดสิน ไม่ตีตรา ไม่เอาประสบการณ์ในอดีตมาเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ หรือความเข้าใจต่อเรื่องราวหนึ่งใด จึงสามารถเกาะติดนัวเนียกับกลุ่มคนได้อย่างล้ำลึก รอคอยจังหวะที่จะเข้าไปหันเหทิศทางเพียงหน่อยหนึ่งด้วยการตั้งคำถาม หันเหหรือกำกับหรือเร่งรัดอัตราการเรียนรู้ด้วยคำถามในวงสุนทรี ยสนทนานั้น เมื่อทุกคนนิ่งฟังได้ เมื่อทุกคนเปิดพื้นที่ ห้อยแขวนการตัดสิน ช่องว่างแห่งความเงียบคือความเป็นไปได้ของญาณทัศนะ ที่จะไปปรากฏบนริมฝีปากใคร ผู้ใดก็ได้ ไม่มีข้อยกเว้นจริงๆ เมื่อนั้นการเกาะติดนัวเนียจึงเป็นการเปิดโอกาสแห่งการเก็บเกี่ยว ญาณทัศนะ ที่กำลังจะโผล่ปรากฏ และจังหวะโอกาสของการป้อนคำถาม ตลอดจนคำถามที่เหมาะสม ก็จะผุดพรายขึ้นในใจของกระบวนกรเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น